ARCHITECT’15 Showcase

ARCHITECT’15 Showcase

ก่อนอื่นมาดูภาพรวมที่เกิดขึ้นและบทตัดต่อที่ได้วางไว้เป็น mood & tone กันก่อนเลยครับ

11064659_1119695351378185_5878533011321808726_n11011565_1119695888044798_5056661373302741623_n11205507_1119695794711474_8696962895661345420_n10986174_1119695681378152_2031205360826187978_n10349064_1119695688044818_3884710497899256197_n

11039303_1119695734711480_7667421786453824470_n

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ footage พี่ธเนศ ดวงพัตรา จาก Thaisky-Digital (http://www.thaisky-digital.com) ช่วงรีวิวอาคารและพื้นที่จัดงาน ส่วนช่วงสัมภาษณ์จะเป็นทางเรา ARCH HOUSE STUDIO ถ่ายทำ อย่างไรก็ตามวีดีโอเบื้องต้นเป็นการทดสอบ mood & tone ของวีดีโอ ซึ่งท้ายสุดก็จะต้องปรับภาพตามบทบรรยายให้ลงตัว

ที่นำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ เนื่องจากอยากให้เห็นภาพเบื้องหลังการทำงานกว่าที่งานวีดีโอแต่ละชิ้นจะสำเร็จลุล่วง

เบื้องต้นทางเจ้าของงานให้โจทย์กว้างๆ คือ ต้องการทำวีดีโอนำเสนอภาพรวมของงาน เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนในปีต่อไป โดยมีทีมถ่ายภาพมุมสูงจาก Thaisky-Digital และทีม ARCH HOUSE STUDIO ทีมถ่ายทำภาคพื้นดิน แต่เนื่องจากทั้งสองทีมไม่ได้คุยกันอย่างเป็นทางการก่อนเริ่มงานถ่ายทำ ซึ่งจะได้มาคุยกันจริงๆ หลังถ่ายทำเสร็จ

สำหรับทีม ARCH HOUSE STUDIO ทางเราได้จัดทีมถ่ายทำไป 3 คน แบ่งกันคนละโซน (งานกว้างมาก) เมื่อถ่ายภาพรวมเสร็จก็จะถ่ายบทสัมภาษณ์ผู้ออกบูธ ผู้ชมงาน รวมถึงอาจารย์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับสถาปนิกหลายคน โดยในงานถ่ายทำผมใช้เครนขนาดเล็กติดตั้งบนรถเข็นและเข็นถ่ายไปทั่วงาน ส่วนช่างภาพอีกสองคน (พี่เจน และโต้ง) ก็จะถ่ายภาพรวมในจุดต่างๆ คนหนึ่งใช้ steadicam คนหนึ่งใช้ monopod ในการถ่าย (ในงานดราฟแรกผมยังไม่ได้ใส่ footage ดังกล่าว)

จริงๆ แล้วก่อนหน้านั้นผมจะต้องไปถ่ายตามเสด็จพระเทพฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ถ่ายงานเป็นทางการขนาดนี้ นอกจากจะต้องเตรียมทั้งชุดที่ต้องสุภาพแล้ว เรื่องอุปกรณ์ก็ต้องเหมาะสมด้วยเนื่องจากมีข้อกำหนดหลายอย่าง แต่ท้ายที่สุดก็ผ่านมาได้

หลังถ่ายทำเสร็จสิ่งแรกที่จะต้องเตรียมก็คือ บทสำหรับตัดต่อ เมื่อวางบทบรรยายเรียบร้อยกระทั่งได้รับอนุมัติจากเจ้าของงาน จึงทำการลงเสียง (อันนี้ผมก็ลงเองพากย์เอง) และวางเสียงไว้เป็นหลักก่อน แล้วจึงนำภาพต่างๆ เข้ามาประกอบตามบทบรรยาย (ผมเล่าแบบรวบรัด) แต่อย่างไรก็ตามดราฟแรกผมได้วางเป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อทดสอบจังหวะของดนตรี และเสียงบรรยาย รวมถึงการวางองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องในวีดีโอให้ครบ

เห็นได้ว่าในดราฟแรกยังขาดอีกหลายองค์ประกอบ เช่น กราฟิก การจัดการเรื่องเสียง ลำดับภาพ เป็นต้น เมื่อได้ภาพดังกล่าวแล้วหลังจากนี้ก็จะมีการตัดต่อแบบละเอียดเพื่อให้งานลงตัวยิ่งขึ้น

ในที่สุดก็ได้ดราฟแรกที่ใส่ซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ

เล่าสู่กันฟังครับ

Screen Shot 2557-03-08 at 10.38.43 AM

 

%d bloggers like this: